
เปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคม หรือคือการย้ายสิทธิของตัวเราเองจากการรักษาโรงพยาบาลประกันสังคมเดิม ไปยังโรงพยาบาลประกันสังคมที่แห่งใหม่ ซึ่งผู้ประกันตนสามารถที่จะเปลี่ยนโรงพยาบาลปะกันสังคมประจำปี ได้ปีละ 1 หน หรือ 1 ครั้ง อย่างเช่น ผู้ประกันตนสามารถดำเนินการได้ระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม จนถึงวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป ซึ่งผู้ที่สามารถเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมได้จะต้องเป็น ผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 เท่านั้น
เปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมได้ในกรณีไหนบ้าง?
ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิสามารถเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมได้ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
1. เปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมประจำปี
ผู้ประกันตนทุกคนสามารถยื่นแบบเพื่อเปลี่ยนโรงพยาบาลประจำปี ได้ระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม ถึง 31 มีนาคม ของทุกปี
2. เปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมระหว่างปี
กรณีที่ผู้ประกันตนนั้น มีเหตุจำเป็นที่จะต้องย้ายที่อยู่อาศัย และย้ายสถานที่ทำงาน หรือพิสูจน์และทราบว่าได้มีการเลือกโรงพยาบาลประกันสังคมให้ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิ โดยผู้ประกันตนและผู้ที่มีสิทธินั้น ไม่ประสงค์ที่จะไปรับบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลประกันสังคมดังกล่าว กรณีย้ายที่พักอาศัย หรือย้ายสถานที่ทำงาน ควรยื่นเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมภายในระยะเวลา 30 วันนับแต่วันที่ย้ายที่พักอาศัย หรือย้ายสถานที่ทำงาน
เปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
กรณีเลือกเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมผ่านทางช่องทางออนไลน์ไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารใด ๆ สามารถยื่นแบบออนไลน์ได้เลย แต่หากเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคม ณ สำนักงานประกันสังคมจะต้องใช้เอกสารได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และ แบบฟอร์มสปส.9-02
เปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมต้องรอกี่วัน
เมื่อผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้ส่งคำร้องการเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมเป็นเรียบร้อยแล้ว ผู้ประกันตน สามารถตรวจสอบผลการเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมได้อีก 2 วันทำการ
การใช้สิทธิโรงพยาบาลใหม่ หลังจากยื่นเรื่องแล้วจะสามารถใช้สิทธิ ณ โรงพยาบาลใหม่ได้ภายในวันที่ 1 และ 16 ของเดือน
สรุปการเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคม
หากต้องการเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคม สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนข้างต้น โดยควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม หรือติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ที่ท่านมีสิทธิ
Comments are closed